ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
- ชื่อวัด: วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
- ประเภทวัด: พระอารามหลวง
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 14 รูป
- สามเณร: 108 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 13 หมู่ ช้างค้ำ สุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55000
- เนื้อที่: 11 ไร่
ประวัติความเป็นมา
เดิมชื่อ “วัดหลวงกลางเวียง” เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือ น้ำพิพัฒน์สัตยา ตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤ ชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารวัดหลวงเมื่อ พ.ศ.2091 ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะ สุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือกและที่มุมอีก 4 เชือกดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำองค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม และภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีพระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่าน ที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1946
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 1949
• วัดพัฒนาดีเด่น ไม่ทราบวันเวลา
• วัดพัฒนาตัวอย่าง ไม่ทราบวันเวลา
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 13 ถนนสุริยพงษ์ บ้านช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน)
โทรศัพท์ : 0 5477 2164
GPS : N18 43 49.85, E100 47 7.44
เวลาทำการ : 06.00-18.00 น.
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ : พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ที่เมื่อมองขึ้นไปรอบๆ บริเวณพระธาตุก็จะพบกับปูนปั้นลอยตัวรูปช้างค้ำครึ่งตัวซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นที่มาของชื่อ วัดพระธาตุช้างค้ำ
ความน่าสนใจภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
- องค์พระธาตุเจดีย์ที่มีปูนปั้นรูปช้างค้ำอยู่ และภายในบริเวณวัดยังมีหอพระไตรปิฎกที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภายในยังประดิษฐานพระทองคำปางลีลา
- เจดีย์ทรงลังกา สถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือกมุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำ องค์เจดีย์
- พระพุทธรูปองค์ใหญ่และมีความสวยงามเป็นที่สักการะของชางน่านและพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558
พระธรรมนันทโสภณ (มนต์ คุณธาโร) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
พระธรรมนันทโสภณ (มนต์ คุณธาโร)
ปัจจุบันอายุ 83 ปี
บวชมาแล้ว 63 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวง (จล.)วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และยังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด
ประวัติด้านการศึกษาของพระธรรมนันทโสภณ (มนต์ คุณธาโร)
พระธรรมนันทโสภณ (มนต์ คุณธาโร) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
พระภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ภิกษุ
ชื่อ: พระธรรมนันทโสภณ
ฉายา: คุณาธาโร
อายุ: 83 ปี (63 พรรษา)
ตำแหน่งปัจจุบัน: ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด
การศึกษา: ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ชื่อ: พระครูพิทักษ์เจติยานันท์
ฉายา: ธมฺมวโร
อายุ: 54 ปี (33 พรรษา)
ตำแหน่งปัจจุบัน: ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
การศึกษา: ปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อ: พระครูสุวรรณเจติยานุกูล
อายุ: ไม่ได้ระบุ
ตำแหน่งปัจจุบัน: ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
การศึกษา: ปริญญาโท
งานตานสลากภัต (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2558
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารนั้น จะประกอบไปด้วย
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- จัดการศึกษาแผนกธรรม-บาลี
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
- แหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถาน
เสนาสนะภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
เสนาสนะภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
โบราณสถาน
- ซุ้มประตู (1)
- พระธาตุ/เจดีย์ (1)
รายละเอียด: พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ เป็นบูชนียสถานสำคัญที่เป็นประธานของวัด ตั้งอยู่ในเขต
พุทธาวาสตรงแนวตะวันตกด้านหลังวิหารหลวง ก่อเป็นเจดีย์สวมพระบรมธาตุไว้ภายใน
ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุหลวง สัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ
9 วา สูงตั้งแต่พื้นดินถึงยอด 16 วา 2 ศอก องค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูน ชั้นล่างสุดยกขึ้นไป
ประมาณ 5 วา ฐานชั้นที่ 2 ทำรูปช้างโผล่หน้าลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าคู่ยืนพ้นออกมา
นอกเหลี่ยมฐานลักษณะรองรับฐานชั้นที่ 2 ไว้ เฉพาะช้างที่อยู่ตรงมุมทั้ง 4 ด้าน ประดับ
เครื่องอลังการตรงบริเวณตระพองและรอบคอเป็นพิเศษ แตกต่างจากช้างเชือกอื่น ๆ
ที่อยู่ด้านหลัง ซึ่งมิได้ตกแต่งประดับประดาสิ่งใด เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ซ้อนกัน 3 ชั้น
และเป็นองค์ระฆังลังกาที่ปรากฏอยู่ทางเหนือทั่วไปเหนือองค์ระฆังทำเป็นฐานเบียง
รองรับมาลัยลูกแก้ว ซึ่งลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นส่วนยอด ตรงยอดทำเป็นปลี ภาษาเหนือ
เรียกว่า มานข้าว หุ้มด้วยทองจังโก้สวมยอดฉัตร
- วิหาร/พระวิหาร (1)
รายละเอียด:
- พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดคู่กับหอพระไตรปิฎก หันหน้าไปทางทิศใต้
ในสมัยโบราณเรียก พระวิหารหลวง หลังใต้ห่างจากกำแพงด้านหน้า 10 เมตร และ
ด้านทิศตะวันตก 5 เมตร กว้าง 12.50 เมตร ยาว 28 เมตร ใช้เป็นสถานที่ประกอบ
ศาสนกิจในวันธรรมสวนะเป็นประจำ รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมภาคเหนือ
- พระประธานองค์ใหญ่ในพระวิหารหลวงเป็นพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย
ลงรักปิดทองขนาดหน้าตักกว้าง 4 เมตร 50 เซนติเมตร สูงจากฐานถึงยอดพระเกตุมาลา
6 เมตร ชาวเมืองเรียกว่า พระเจ้าหลวง เป็นลักษณะศิลปกรรมแบบล้านนาไทย
สังฆาฏิปั้นลวดลายด้านต่อศอกลงรักปิดทองติดกระจกสวยงามประทับนั่งอยู่บน
ฐานชุกชีที่ทำเป็นรูปตรีมุข ชาวเมืองนับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระองค์หนึ่ง
ดุจเป็นพระพุทธรูปประจำเมือง กล่าวว่า ได้แสดงอภินิหารบอกเหตุล่วงหน้า เกี่ยวกับ
ชะตาของเมืองน่านด้วยเช่นกัน ครั้งหนึ่ง เมื่อเจ้าสุมนเทวราชเสด็จลงมายังกรุงเทพฯ
และทิวงคตกลางทางนั้น เมืองน่านมีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือองค์พระเจ้าหลวงมี
เหงื่อไหลออกมาดังความในหนังสือพงศาสดารเมืองน่านว่า - "อนึ่ง เมื่อเจ้าสุมนเทวราชเสด็จลงไปยังกรุงเทพมหานครแล้ว ขณะเดินทางใกล้
จะถึงสงกรานต์ปีใหม่ได้เกิดเหตุการณ์ในเมืองน่านขึ้นอย่างหนึ่ง คือเกิดพายุลมใหญ่
อันสพึงกลัวมากพัดมาทางทิศตะวันตกพัดเอาต้นไม้บ้านเรือนของคนทั้งหลายหักก่น
ล้มลงเป็นอันมาก และเหงื่อพระเจ้าหลวงองค์ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารและ
ในอุโบสถก็ไหลออกมาโทรมทั่วพระวรกายเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก และยอดพระธาตุ-
เจ้าภูแช่แห้ง ก็คดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้"
- พระอุโบสถ (1)
- วิหารพระเจ้าทันใจ (1)
- หอไตร/หอพระไตร (1)
รายละเอียด: สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ดังปรากฏในพระประวัติ ของพระองค์ว่า “ร.ศ. 127 พ.ศ. 2453 ก่อสร้างหอพระไตรปิฏก ในบริเวณวัดช้างค้ำ 1 หลัง 8 ห้อง ยาว 16 วา 1 ศอก กว้าง 5 วา 2 ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ 13 วา หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สัก ทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว 2 ข้าง และเพดาน ทำด้วยลวดลายต่าง ๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง กับจีนอิ๋วจีนซาง เป็นสล่าสิ้นเงิน 12,558 บาท
- หอระฆัง (1)
เสนาสนะ
- กุฏิสงฆ์ (4)
- กุฏิสำหรับปฏิบัติธรรม (2)
- โรงครัว (1)
อื่นๆ
- อาคารเรียน (1)
- อาคารเอนกประสงค์/อาคารหอประชุม (1)
ไม่จัดกลุ่ม
- สำนักงานเจ้าคณะอำเภอ (2)
ปูชนียวัตถุของทางวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ปูชนียวัตถุของทางวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ปูชนียวัตถุ/โบราณวัตถุ
- พระบรมสารีริกธาตุ
- คัมภีร์โบราณ
- ตู้ธรรม/หรือที่เก็บคัมภีร์
- กลอง
- ธรรมาสน์
- พระสังกัจจายน์
พระพุทธรูป
- พระประธาน
- พระพุทธรูปปางลีลา
- พระเจ้าทันใจ
- พระพุทธรูปโบราณ
- พระพุทธรูปปางลีลา
- พระพุทธรูปปางห้ามญาติ